วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โรคความดันโลหิตสูง สาเหตุของความดันโลหิตสูง ที่คาดไม่ถึง

                                                              
โดย นพ.พินิจ ลิ้มสุคนธ์

          ปัจจุบัน นี้เกือบทุกคนที่เป็นผู้ใหญ่คงคุ้นเคยกับโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งประกอบด้วยการมีความดันโลหิตที่มีค่าสูงเกินปกติ และมีผลกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะหัวใจและหลอดเลือด

          หัวใจจะทำงานหนักขึ้นเพราะต้องสูบฉีดแรงขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้น หัวใจโตและหัวใจล้มเหลวตามมา หลอดเลือดแดงทั่วทั้งตัวจะมีผนังหนาขึ้น โดยเฉพาะหลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่อยู่ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ จะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด จึงเกิดการเสื่อมของผนังหลอดเลือดเหล่านี้ ซึ่งจะนำไปสู่การตีบตันหรือแตก และอวัยวะที่เกี่ยวข้องเกิดความเสียหายและขาดเลือดหรือมีเลือดออก

          ความ ผิดปกติที่เกิดขึ้นเป็นผลของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางฟิสิกส์ คือ ความดันหรือแรงดันในหลอดเลือดสูงขึ้น และการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี คือ การที่เซลล์ของผนังหลอดเลือดมีความผิดปกติ เกิดการเสื่อมและมีการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดไขมันจับผนังหลอดเลือด และมีการดื้ออินซูลิน ทำให้เกิดโรคเบาหวาน หรือการควบคุมเบาหวานยากขึ้น เกิดภาวะแทรกซ้อนง่ายขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีนี้เป็นเรื่องที่เข้าใจยากและถูกมองข้ามไป แพทย์ส่วนใหญ่จึงให้ความสนใจเพียงแค่ค่าความดันโลหิตที่วัดได้ซึ่งไม่ถูก ต้องนัก

          นอกจากการมอง ข้ามผลกระทบทางชีวเคมี ทั้งแพทย์และผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังละเลยการสืบค้นสาเหตุของความดันโลหิตสูง ถึงแม้ว่าผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเกือบทั้งหมดจะไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด โดยมากจะมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น อายุมาก กรรมพันธุ์ การสูบบุหรี่ การบริโภคเกลือเป็นประจำ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และความเครียด แต่มีผู้ป่วยทางรายที่มีสาเหตุและบางอย่างก็สามารถแก้ไขได้ ทำให้ไม่ต้องใช้ยาควบคุมความดันโลหิตไปตลอด ซึ่งสาเหตุต่าง ๆ มีดังนี้
            
          โรคไต ได้แก่ ไตพิการเรื้อรัง หรือหลอดเลือดแดงของไตตีบตัน ซึ่งการตรวจร่างกายจะต้องตรวจหาร่องรอยของไตพิการ และต้องฟังที่ท้องและเอวว่ามีเสียงฟู่ของหลอดเลือดตีบหรือไม่ ต้องตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และตรวจไตด้วยวิธีพิเศษ เช่น อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือตรวจด้วยสนามแม่เหล็ก

          โรคของต่อมไร้ท่อ โดยเฉพาะต่อมหมวกไต ซึ่งจะผลิตฮอร์โมนบางอย่างทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยมักจะมีความดันโลหิตสูงมากเป็นพัก ๆ หรือมีความดันโลหิตสูงร่วมกับภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนกำลังเป็น ๆ หาย ๆ การตรวจวินิจฉัย คือ การตรวจฮอร์โมนและการใช้อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการตรวจด้วยสนามแม่เหล็ก

          นอกจากนี้ ผู้ที่มีโรคของต่อมหมวกไตอาจเกิดอาการผิดปกติที่มีลักษณะพิเศษ คือ ความดันโลหิตสูง อ้วนบางส่วน คือหน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ ท้องโต หลังนูนเป็นหนอก แต่แขนขาลีบเล็กลงอ่อนกำลัง มีหนวดขึ้นหรือมีขนที่ใบหน้ามากขึ้น บวมทั้งตัวแต่ไม่มาก ท้องลายเป็นสีม่วงจาง ๆ ต่างจากคนตั้งครรภ์หรือคนอ้วนทั่วไปที่ลายซีด ๆ

          โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในอกตีบแคบมาแต่กำเนิด หรือหลอดเลือดขนาดใหญ่อักเสบเรื้อรังจนตีบตัน ตรวจ ร่างกายพบชีพจรแขนขาแรงไม่เท่ากัน หรือชีพจรบางแห่งเบาผิดปกติ การวัดความดันโลหิตจึงต้องวัดเทียบกันทั้งแขนขวากับแขนซ้ายและแขนกับขา

          สาเหตุจากยา ได้แก่ ยากลุ่มสตีรอยด์ ยาต้านการอักเสบ (เช่น ยาแก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ) ยาที่มีฤทธิ์หดหลอดเลือด (เช่น ยาแก้คัดจมูก และยาที่กระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติบางอย่าง) จึงต้องตรวจสอบการใช้ยาของผู้ป่วยด้วย แม้แต่ยาสมุนไพรบางอย่างก็มีสารสตีรอยด์ หรือมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุได้เช่นกัน (เช่น ชะเอม)

          ดังนั้น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทุกคน ควรสอบถามแพทย์ที่ตรวจรักษาตนดังนี้

          สาเหตุของความดันโลหิตสูงของตนคืออะไร จะเกิดจากโรคไต โรคต่อมหมวกไต โรคหลอดเลือด หรือเกิดจากยาได้หรือไม่

          ผลกระทบที่เกิดจากความดันโลหิตสูงคืออะไร ต่อไปจะมีปัญหากับหัวใจและอวัยวะที่สำคัญอื่น ๆ หรือไม่ จะทราบได้อย่างไร รวมถึงจะป้องกันและแก้ไขอย่างไร

          ผู้ ป่วยรายหนึ่ง เป็นชายไทยวัยทำงาน มาพบผู้เขียนด้วยอาการปวดศีรษะรุนแรงเป็นพัก ๆ ตรวจพบว่าขณะปวดศีรษะผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตสูงขึ้นมาก และลดลงเป็นปกติพร้อม ๆ กับหายปวดศีรษะ ลักษณะเช่นนี้สงสัยว่าอาจจะเป็นเนื้องอกชนิดหนึ่งของต่อหมวกไต จึงได้ตรวจฮอร์โมนและทำอัลตราซาวนด์ท้อง ผลออกมาปกติ

          แต่เนื่องจากยังข้องใจอยู่จึงส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ปรากฏว่า มีเนื้องอกของปมประสาทข้างต่อมหมวกไต (เป็นชนิดเดียวกับเนื้องอกของต่อมหมวกไต) ซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูงเป็นพัก ๆ หลังการผ่าตัดเอาเนื้องอกออก อาการปวดศีรษะ จึงหายสนิทและความดันโลหิตปกติดี

          ผู้ป่วยจึงกลับบ้านด้วยความรู้สึกทั้งดีใจที่หายสนิท โดยไม่ต้องกินยาความดันไปหลอด และอีกความรู้สึกหนึ่งคือความประหลาดใจที่ตนเองมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดที่ ศีรษะ แต่กลับมีสาเหตุอยู่ในท้อง จนต้องผ่าตัดมีแผลที่หน้าท้องยาวมากกว่าคีบ

          นี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าสาเหตุของความดันโลหิตสูงอาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่คาดไม่ถึงก็ได้

http://www.zazana.com/Health-/id10841.aspx

การเช็ดตัวลดไข้

 
การเช็ดตัวลดไข้
 

การจัดการไข้ในผู้ป่วยเด็ก
ไข้เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก เกิดขึ้นร่วมกับความเจ็บป่วยในร่างกาย แสดงว่าเกิดการสูญเสียความสมดุลภายในร่างกาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย ผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ถ้ามีไข้สูง39-40 องศาเซลเซียส อาจเกิดอาการชักจากไข้สูงได้ อาการชักส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงแรกที่เริ่มมีไข้ถ้าอาการชักเกิดขึ้นในวันหลังๆมักมีสาเหตุอื่นร่วมด้วย เช่น ภาวะติดเชื้อระบบประสาท เป็นต้น
สาเหตุของไข้
1. การติดเชื้อ เช่น การอักเสบของทางเดินหายใจ หูชั้นกลางอักเสบ ปอดบวม ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น
2. การที่ร่างกายทำปฏิกิริยากับสิ่งแปลกปลอม เช่น หลังการฉีดวัคซีน
3. ร่างกายขาดน้ำ เช่น อุจจาระร่วง อุณหภูมิภายนอกร่างกายสูงมากๆ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก
4. ได้รับบาดเจ็บ มีบาดแผล
สาเหตุเหล่านี้จะไปกระตุ้นให้มีการหลั่งสารกระตุ้นสมองส่วนหน้าให้ตั้งระดับอุณหภูมิสูงขึ้น ร่างกายตอบสนองโดยพยายามเพิ่มอุณหภูมิและเพิ่มความร้อนจากการเพิ่มอัตราการเผาผลาญของเซลล์และการสั่นของกล้ามเนื้อ และลดการระบายความร้อนออกจากร่างกายโดยการตีบตัวของหลอดเลือดใต้ผิวหนัง ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นจนมีค่าเท่ากับที่ตั้งไว้ใหม่ คือ ทำให้เกิดอาการไข
ขั้นตอนการเกิดไข้ มี 3 ระยะ
1. ระยะหนาวสั่นเป็นระยะเริ่มต้นของการมีไข้ หยุดการขับเหงื่อ เกิดการกระตุ้นกลไกการสร้างความร้อนให้ทำงานมากขึ้นโดยการสั่นของกล้ามเนื้อร่วมกับการหดตัวของหลอดเลือดที่ผิวหนัง ดังนั้น ขณะสั่นจึงรู้สึกหนาวร่วมด้วย เพราะอุณหภูมิผิวหนังลดลงเนื่องจากเลือดไหลมาน้อย โดยเฉพาะปลายมือปลายเท้าจะเย็น ระยะเวลาในการสั่นอาจแค่ 2-3 นาที หรือนานเป็นชั่วโมงขึ้นกับสาเหตุ เมื่ออุณหภูมิสูงถึงระดับที่กำหนดใหม่แล้วกลไกดังกล่าวจะหยุดทำงาน ไม่เกิดความรู้สึกร้อนหรือหนาวทั้งๆที่อุณหภูมิร่างกายสูง
2. ระยะไข้ เมื่อมีการเพิ่มอุณหภูมิของร่างกาย ผิหนังอุ่น หน้าแดง รู้สึกร้อน การเผาผลาญมาก ทำให้หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ร่างกายขาดน้ำ หากเกิดเป็นเวลานานเนื้อเยื่อร่างกายถูกทำลายจะอ่อนเพลียปวดเมื่อย กล้ามเนื้อไม่มีแรง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน อาจมีอาการซึม กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ เพ้อ ประสาทหลอนและมีอาการชักได้
3. ระยะไข้ลดเมื่อสาเหตุของไข้ถูกกำจัดไปแล้ว อุณหภูมิร่างกายจะลดลง ลดการสร้างความร้อนภายในร่างกาย เลือดไปเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น มีการหลั่งเหงื่อมากขึ้น
ผลกระทบของการมีไข้
ระบบประสาท ทำให้ปวดศีรษะ ซึม กระสับกระส่าย ในเด็กอาจมีอาการชักจากไข้สูงได้ และอาการชักอาจส่งผลกระทบต่อสมองได้ หากอาการชักจากไข้สูงเกิดเป็นเวลานาน หรือชักบ่อย จะทำให้สมองขาดออกซิเจน สมองพิการ มีความผิดปกติของการเคลื่อนไหวและการรับความรู้สึก
ระบบไหลเวียน อัตราการบีบตัวของหัวใจมากขึ้น เพิ่มการทำงานของหัวใจ
ระบบย่อยอาหาร เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน การเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง การดูดซึมอาหารไม่ดี เสียน้ำทางเหงื่อและทางการหายใจมากขึ้น ทำให้มีอาการท้องผู
ระบบทางเดินปัสสาวะ พบว่าปัสสาวะน้อยละเนื่องจากเสียน้ำมากจากกระบวนการระบายความร้อนออกจากร่างกาย
การเผาผลาญของร่างกาย เพิ่มมากขึ้น
วิธีการลดไข้
1. การให้ยาลดไข้ ยาลดไข้ที่ดีที่สุดคือยาพาราเซตามอง เพราะมีฤทธิ์ข้างเคียงน้อย และไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ส่วนยาจูนิเฟนมีผลดีในการลดไข้และป้องกันการชักจากไข้สูงได้ดีกว่าพาราเซตามอล แต่มีฤทธิ์ข้างเคียง คือ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
2. การเช็ดตัวลดไข้ควรเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา ไม่ควรใช้น้ำเย็นจัด เพราะจะทำให้หลอดเลือดตีบและระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ยาก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการหนาวสั่นได้ ควรป้อนยาลดไข้ทันทีเมื่อมีไข้ร่วมกับการเช็ดตัวลดไข้ ยาลดไข้จะออกฤทธิ์ลดไข้หลังรับประทานยา 30 นาทีและออกฤทธิ์สูงสุด 1 ชั่วโมง คงสภาพได้ 4 ชั่วโมง ดังนั้นหากไข้สูงระหว่างมื้อยา ให้เช็ดตัวลดไข้ หากมีอาการหนาวสั่นควรให้ความอบอุ่นก่อนแล้วจึงเช็ดตัว
3. ดื่มน้ำมากๆ ควรเป็นน้ำอุ่นหรือน้ำผลไม้ กระตุ้นให้ดื่มน้ำบ่อยๆเพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายสูญเสียไปจากพิษไข้
4. ใส่เสื้อผ้าโปร่ง สวมใส่สบาย ประเภทผ้าฝ้าย ไม่ควรใส่เสื้อผ้ายืดเพราะไม่ระบายความร้อน ไม่ควรใส่เสื้อผ้าหนาหรือห่มผ้าหนาๆ
5. อยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
วิธีการเช็ดตัวลดไข้
การเช็ดตัวลดไข้ เป็นกระบวนการนำความร้อนออกจากร่างกายสู้ผ้าเปียกที่ใช้เช็ดตัว โดยการใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นให้เปียกเช็ดถูตามส่วนต่างๆของร่างกายร่วมกับการประคบผิวหนังบริเวณที่เป็นจุดรวมของหลอดเลือดขนาดใหญ่ใต้ผิวหนัง เช่น หน้าผาก ซอกคอ รักแร้ ขาหนีบ และข้อพับต่างเพื่อช่วยให้ถ่ายเทความร้อนจากหลอดเลือดสู่ผิวหนัง และสู่ผ้าเปียกตามลำดับ
1. เตรียมเครื่องใช้ ได้แก่ อ่างน้ำ 1 ใบใส่น้ำอุ่นประมาณ 2 ลิตร (ความร้อนของน้ำควรจะอุ่นกว่าอุณหภูมิห้อง เย็นกว่าร่างกายเด็ก) ผ้าเช็ดตัวผืนเล็ก 3 ผืน ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่ 1 ผืน เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้
2. ถอดเสื้อผ้าเด็กออกให้หมด
3. ใช้ผ้าเช็ดตัวผืนเล็กชุบน้ำบดหมาดๆ เช็ดถูที่ผิวหนัง การเช็ดถูจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดที่ผิวหนัง น้ำอุ่นจะช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ส่งผลให้ความร้อนถูกระบายออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น ใช้ผ้าชุบน้ำผืนที่ 1 เช็ดบริเวณหน้าและพักผ้าไว้บริเวณซอกคอและหลังหู ผ้าผืนที่ 2 เช็ดบริเวณแขนโดยเริ่มจากปลายแขน เช็ดแขนเข้าหาลำตัวและพักผ้าไว้บริเวณรักแร้ ผ้าผืนที่ 3 เช็ดแขนอีกข้างและพักผ้าไว้บริเวณรักแร้ เปลี่ยนผ้าบริเวณซอกคอ ชุบน้ำบิดหมาดๆเช็ดบริเวณหน้าผากและศีรษะ พักผ้าไว้บริเวณหน้าผาก เปลี่ยนผ้าบริเวณรักแร้ ชุบน้ำบิดหมาดๆเช็ดบริเวณลำตัว พักผ้าไว้บริเวณหัวใจและขาหนีบ เปลี่ยนผ้าบริเวณหน้าผากและขาหนีบ ชุบน้ำบิดหมาดๆเช็ดขาโดยเริ่มจากปลายเท้า เช็ดขาและพักไว้บริเวณข้อเข่าและขาหนีบทั้งสองข้าง หลังจากนั้นให้พลิกตะแคงตัวเด็ก ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆเช็ดด้านหลังตั้งแต่คอจนถึงก้นกบ เช็ดหลายๆครั้ง หากน้ำในอ่างน้ำเย็นลงก็ให้เปลี่ยนน้ำอุ่นใหม่ เช็ดเหมือนเดิมจนครบ 15-20 นาที จนรู้สึกว่าร่างกายเด็กเย็นลงกับมือ เช็ดตัวเด็กให้แห้งและสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี ไข้ลดเร็ว หลังเช็ดตัวเสร็จ 30 นาที วัดอุณหภูมิซ้ำด้วยปรอทวัดไข้ เมื่อไข้กลับขึ้นสูงก็เช็ดซ้ำอีกครั้ง
การดูแลที่สำคัญ
1. เมื่อเด็กเริ่มมีไข้ ควรป้องกันการชักด้วยการเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น
2. ให้เด็กนอนพักในขณะเช็ดตัวและหลังเช็ดตัวเพื่อลดการเผาผลาญในร่างกายให้น้อยลง
3. ใช้ปรอทวัดอุณหภูมิร่างกาย ถ้าสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส หรือสัมผัสร่างกายแล้วยังร้อนจัด ควรเช็ดตัวซ้ำอีก
4. ให้รับประทานยาลดไข้ถ้าอุณหภูมิสูงตั้งแต่ 38.5 องศาเซลเซียส ขึ้นไป
5. พยายามให้เด็กดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มบ่อบๆ เพื่อชดเชยการเสียน้ำจากไข้สูง และดื่มน้ำระหว่างเช็ดตัวลดไข้
6. ให้อาหารน้อยๆแต่บ่อยครั้ง เนื่องจากเด็กเบื่ออาหาร
7. ทำความสะอาดปากและฟันหรือจิบน้ำบ่อยๆเพื่อให้เยื่อบุชุ่มชื้น ช่วยระงับกลิ่นปาก ป้องกันแผลและการติดเชื้อในปาก และส่งเสริมความอยากอาหารของเด็ก
8. ถ้าเด็กมีอาการชัก ให้จับนอนตะแคงหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อให้เสมหะ น้ำมูก น้ำลายไหลได้สะดวก ป้องกัน การสำลัก ห้ามป้อนยาเด็กในขณะที่ยังมีอาการชัก และแม้เด็กจะหยุดชักแล้ว ก็ควรนำไปตรวจที่โรงพยาบาลเพราะอาจมีความผิดปกติของสมองตามมาได้
สรุป
เวลาเด็กไม่สบาย มักมีอาการตัวร้อนนำมาก่อน สำหรับผู้ใหญ่อาการตัวร้อนดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่เด็กๆอาจไม่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากมีพื้นที่ร่างกายน้อย การระบายความร้อนเป็นไปได้ช้า แต่การสร้างความร้อนเกิดขึ้นเร็ว หากปล่อยให้ตัวร้อนจัดเด็กอาจชักเพราะไข้สูงได้เพราะในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ระบบประสาทส่วนกลางยังเจริญไม่เต็มที่ หากมีการชักบ่อยๆจะทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย ซึ่งผลต่อระดับสติปัญญาของเด็กและการทำงานของสมองในอนาคตได้
การดูแลเด็กเวลามีไข้มีมากมายหลายวิธี วิธีเช็ดตัวลดไข้เป็นวิธีที่บิดามารดาสามารถดูแลเบื้องต้นได้ สิ่งที่สำคัญคือบิดามารดาต้องเห็นความสำคัญและใส่ใจ มีเวลาให้กับเด็ก เพื่อให้เกมีความสุขสบายและปลอดภัยจากภาวะไข้


อ้างอิง   http://www.med.cmu.ac.th/hospital/nped/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=94:tepid-sponge&catid=93:child-care1&Itemid=435#

 

การตรวจร่างกาย


การตรวจร่างกาย


โรคทางอายุรศาสตร์ โดย นายแพทย์อดุลย์ วิริยเวชกุล หลักเบื้องต้นในการวินิจฉัยและการรักษาโรคทางอายุรศาสตร์
จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการเป็นแพทย์คือการรักษาผู้ป่วยให้หาย แต่ก่อนที่จะรักษาผู้ป่วย แพทย์จำเป็นจะต้องรู้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไร จึงจะรักษาได้ถูกต้อง เรื่องราวที่ผู้ป่วยบอกแพทย์นั้นมิใช่โรค แต่เป็นอาการที่ทำให้เขารู้สึกไม่สบายหรือผิดปกติ ดังนั้นการรักษาโรคได้อย่างถูกวิธีนั้น จึงเป็นกระบวนการซึ่งประกอบด้วยวิธีการหลายขั้นตอน คือ การถามประวัติ การตรวจร่างกาย (การตรวจกายภาพ) การสืบค้นตลอดจนการรักษาและป้องกันโรค



หัวข้อ
ประวัติผู้ป่วย
การถามประวัติผู้ป่วย แพทย์จำเป็นจะต้องทราบข้อมูลทั่วๆ ไปเกี่ยวกับผู้ป่วย เช่น ชื่อ เพศ อายุ เชื้อชาติ ที่อยู่ สถานภาพสมรส อาชีพ และสถานที่เกิด จากนั้นจึงซักถามอาการและประวัติ
อาการสำคัญ คืออาการที่นำผู้ป่วยมาหาแพทย์หรือมาโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา รวมทั้งระยะเวลาที่มีอาการนั้น
ประวัติปัจจุบัน คือรายละเอียดของเรื่องราวการเจ็บป่วยหรืออาการที่ผู้ป่วยมาหาแพทย์ในครั้งนี้ประวัติปัจจุบันอาจมีระยะเวลาสั้นหรือยาวก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพที่ผู้ป่วยมีอาการ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไส้ติ่งอักเสบอาจมีประวัติเป็นมาเพียงไม่กี่ชั่วโมง ในขณะที่ผู้ป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังอาจจะมีประวัติมานานเป็นปี อาการที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวข้องกับประวัติปัจจุบันอาจจะมีมากกว่าหนึ่งอาการ และโดยมากแพทย์มักจะพยายามถามประวัติอาการดังกล่าวนั้นโดยละเอียด โดยเฉพาะระยะเวลาของแต่ละอาการที่เกิดขึ้น ลักษณะและวิธีการที่เกิดขึ้น ความถี่และความรุนแรง และการเปลี่ยนแปลงของอาการ ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับอาการอื่นๆ รวมทั้งการรักษาที่เกี่ยวข้องกับอาการดังกล่าวซึ่งผู้ป่วยได้รับมาแล้วนั้นด้วย ในกรณีที่มีอาการหลายๆ อย่าง แพทย์มักเรียงลำดับอาการตามเวลาที่เกิดขึ้น
นอกจากนี้ แพทย์ยังมักจะถามประวัติตามระบบซึ่งอาจจะมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยโรคได้การถามประวัติตามระบบนี้ แพทย์มักจะถามอาการสำคัญที่อาจพบได้บ่อย และเกี่ยวข้องกับระบบต่างๆของร่างกายและจิตใจ
ประวัติอดีต หมายถึงเรื่องราวการเจ็บป่วยของผู้ป่วยที่เคยเป็นมาแล้วและไม่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยครั้งนี้ ผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการของแผลในกระเพาะอาหาร แต่อาจจะมีประวัติในอดีตว่าเคยเป็นวัณโรคปอดเมื่อ ๑๕ ปีก่อน และเคยผ่าตัดต่อมทอนซิลเมื่อ ๑๐ ปีมาแล้ว เป็นต้น
ประวัติครอบครัว หมายถึงประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัวผู้ป่วย เช่น การเจ็บป่วยของบิดา มารดาบุตร และปู่ย่าตายาย เป็นต้น โดยเฉพาะประวัติของโรคที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกันได้กับการเจ็บป่วยที่ผู้ป่วยเป็นในครั้งนี้ นอกจากนี้ แพทย์ยังมักจะถามอายุ สุขภาพ สาเหตุของการถึงแก่กรรม และอายุที่ถึงแก่กรรมของสมาชิกในครอบครัว ตลอดจนอาจจะถามประวัติที่เกี่ยวข้องกับโรคที่พบได้บ่อยๆ เช่น เบาหวานความดันเลือดสูง วัณโรคปอด มะเร็ง โรคหัวใจ โรคหืด และโรคแพ้ต่างๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในครอบครัว
ประวัติส่วนตัว คือ เรื่องราวส่วนตัวของผู้ป่วยเช่น คู่สมรส บุตร การทำงาน การเจริญเติบโตในวัยเด็กและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ประวัติส่วนตัวมักรวมถึงนิสัยประจำของผู้ป่วย เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ ยาที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนความสัมพันธ์กับสังคมต่างๆ การศึกษา รายได้และฐานะหรือปัญหาทางเศรษฐกิจ ตลอดจนอาชีพ สิ่งแวดล้อมอื่นๆ และสถานที่ซึ่งผู้ป่วยอาศัยอยู่ หรือได้เคยอาศัย หรือได้เคยไปมาแล้ว ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยในครั้งนี้
การตรวจร่างกาย
อาการแสดงแห่งชีวิต ได้แก่ การตรวจอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันเลือดของผู้ป่วยนอกจากนี้ยังอาจจะรวมถึงการตรวจวัดน้ำหนักตัวและส่วนสูงด้วย
ลักษณะทั่วไป ได้แก่ การตรวจดูลักษณะโดยทั่วไป ตลอดจนกระทั่งท่าทางการเดิน ท่าทีของผู้ป่วยในขณะกำลังตรวจ ดูลักษณะว่าผอม อ้วน เตี้ยหรือสูงกว่าธรรมดา มีอาการหอบ บวม เขียวคล้ำ และซีดหรือไม่ การสังเกตความพิการที่อาจเห็นได้ง่าย รวมทั้งความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้ป่วยที่มีต่อการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่
การตรวจตามระบบ ได้แก่ การตรวจตามระบบต่างๆ ของร่างกายให้ครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยของผู้ป่วยที่กำลังเป็นอยู่

การตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะในห้องปฏิบัติการ
การสืบค้น
การสืบค้นประจำ ส่วนใหญ่เป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการง่ายๆ หรือการตรวจที่อาจกระทำได้ข้างเตียงผู้ป่วย เช่น การตรวจเลือดเพื่อหาเฮโมโกลบินจำนวนเม็ดเลือดแดง จำนวนและชนิดของเม็ดเลือดขาวการตรวจปัสสาวะและอุจจาระ เป็นต้น
การสืบค้นพิเศษ คือการสืบค้นอื่นๆ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนในการวินิจฉัยโรค หรือช่วยในการแยกโรคการสืบค้นพิเศษนี้อาจเป็นการตรวจในห้องทดลองหรือไม่ได้ เช่น การตรวจทางรังสีวิทยา การวิเคราะห์หาปริมาณหรือระดับของสารเคมีต่างๆ ในเลือด การตรวจโดยใช้สารทึบรังสี การตัดเนื้อ (biopsy) เพื่อนำไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ การฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือด (angiography) การใช้กล้องส่องดูหลอดลม (bronchoscopy) การใช้กล้องส่องดูกระเพาะอาหาร (gastroscopy) และการตรวจโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ (computed tomography) เป็นต้น แพทย์มักสั่งหรือกระทำการสืบค้นพิเศษเมื่อมีข้อชี้บ่งที่แน่นอนและการสืบค้นพิเศษดังกล่าวนั้นไม่เป็นอันตราย ไม่เป็นโทษ หรือก่อให้เกิดการเจ็บปวดแก่ผู้ป่วยเกินความจำเป็น ตลอดจนต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้เมื่อเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ที่อาจได้จากการสืบค้นนั้นๆ ด้วย

การสืบค้นพิเศษโดยการใช้กล้องส่องดูกระเพาะอาหาร
การวินิจฉัยโรค
ในการวินิจฉัยโรคนั้นแพทย์ต้องอาศัยข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดจากการดำเนินงานตามกระบวนการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น เพื่อที่จะบอกว่าการเจ็บป่วยของผู้ป่วยนั้นมีร่องรอยของโรคอยู่ที่บริเวณใดของร่างกาย หรือเกิดจากพยาธิสภาพชนิดใด หรือมีธรรมชาติของโรคเป็นอย่างไร ตลอดจนอยู่ในระยะใดของโรค เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ในบางครั้งแพทย์ไม่สามารถจะทำการวินิจฉัยโรคได้โดยอาศัยขั้นตอนดังกล่าว หรือมีความจำเป็นบางประการไม่สามารถรอการรักษาได้ ในกรณีเช่นนี้ แพทย์อาจต้องให้การรักษาไปก่อน โดยคิดว่าผู้ป่วยน่าจะเป็นอะไรได้มากที่สุด และถ้าผู้ป่วยหายจากโรคดังกล่าวโดยการรักษาที่ให้นั้น ก็อนุมานเอาว่าผู้ป่วยเป็นโรคนั้น วิธีการดังกล่าว เรียกว่า การวินิจฉัยโดยการรักษา (therapeutic diagnosis) อย่างไรก็ดี หากเป็นไปได้แพทย์มักหลีกเลี่ยงการให้การรักษาก่อนให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องแน่นอน

การรักษา
การรักษาเฉพาะ คือ การรักษาตามสาเหตของโรคโดยการใช้ยาหรือโดยวิธีการอื่น ซึ่งมีผลเป็นการบำบัดสาเหตุ และทำให้โรคนั้นหายไป เช่น การรักษาโรคไทฟอยด์ ปอดบวม โดยการให้ยาเฉพาะตามสาเหตุนั้นๆ
การรักษาตามอาการ คือการรักษาตามอาการของผู้ป่วย เช่น ปวดศีรษะ ก็ให้ยากินแก้ปวด ไอก็ให้ยาระงับอาการไอ การรักษาตามอาการมีจุดประสงค์เพื่อให้อาการนั้นหายไปโดยมิได้รักษาสาเหตุ ดังนั้นผู้ป่วยอาจกลับมีอาการดังเดิมถ้ามิได้ให้ยาระงับอาการนั้นๆ ไว้ หรือยาที่ให้นั้นหมดฤทธิ์ โดยปกติแพทย์จะให้การรักษาตามอาการเมื่อจำเป็น ในขณะที่ยังไม่ทราบสาเหตุ หรือกำลังหาสาเหตุอยู่ โดยหวังว่าเมื่อพบสาเหตุแล้วจะได้ให้การรักษาเฉพาะได้ การรักษาตามอาการอาจมีผลเสียได้ เช่น ผลเสียที่เกิดจากการให้ยาระงับอาการนั้นเอง โดยยาระงับอาการอาจกลบอาการ ทำให้แพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ หรือวินิจฉัยโรคได้ช้าหรือลำบากขึ้น
การรักษาประคับประคอง คือ การรักษาเพื่อประคับประคอง หรือพยุงอาการทั่วๆ ไปของผู้ป่วยให้ดีขึ้น เป็นการเพิ่มความต้านทาน ตามธรรมชาติให้แก่ร่างกายผู้ป่วยอีกวิธีหนึ่ง ตัวอย่างของการรักษาประเภทนี้ ได้แก่ การแนะนำให้พักผ่อน การให้น้ำเกลือหรือกลูโคสในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารได้น้อยเพราะเหตุใดก็ตาม เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ เป็นต้น การรักษาโดยการให้วิตามินและแร่ธาตุจำเป็นแก่ร่างกายการพยาบาลที่ดี และกายภาพหรือสรีรบำบัด (physiotherapy) วิธีต่างๆ เป็นต้น
การรักษาบรรเทาอาการ เป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการผู้ป่วยมิให้เลวลง หรือให้เลวลงช้ากว่าปกติ การรักษาประเภทนี้ใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังหรือโรคที่ทราบแน่นอนว่ารักษาไม่หาย เช่น การให้ยาต้านมะเร็ง หรือการใช้รังสีบำบัด (radiotherapy) ในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง
จิตวิทยารักษา เป็นการรักษาที่มีจุดประสงค์สำคัญเพื่อทำให้ผู้ป่วยมีจิตใจและอารมณ์ดีขึ้น ผู้ป่วยที่มีโรคของร่างกายจะมีความผิดปกติทางจิตใจด้วยเสมอและเป็นหน้าที่ของแพทย์ที่ต้องรักษาผู้ป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ สุภาษิตโบราณอันหนึ่งถึงกับกล่าวว่า "ไม่มีโรคมีแต่ผู้ป่วย" ซึ่งมีความมุ่งหมายที่จะให้รักษาผู้ป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ มิใช่แต่รักษาโรคทางกายเท่านั้น วิธีหนึ่งของจิตวิทยารักษา คือ การที่แพทย์ให้ความเชื่อมั่น อธิบายธรรมชาติของโรคให้ผู้ป่วยฟังโดยใช้คำพูดง่ายๆ เพื่อเป็นการระงับอาการวิตกกังวลจากโรคทางกายที่ผู้ป่วยเป็นอยู่
การป้องกัน
การป้องกันนับว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของกระบวนการรักษาโรค วิธีการในกระบวนการป้องกันโรคมีความสัมพันธ์กับผู้ป่วย พาหะของโรค สิ่งแวดล้อม แพทย์ และผู้ที่มีส่วนร่วมในการบำบัดรักษารวมทั้งเจ้าหน้าที่ในทางสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องด้วย ในการป้องกันโรคใดๆ ก็ตาม หากเป็นไปได้ควรจะป้องกันมิให้มีการเกิดโรคนั้น แต่ถ้าโรคนั้นได้เกิดขึ้นแล้วก็ต้องพยายามรักษาหรือขจัดโรคนั้นๆ ให้หมดสิ้นโดยเร็วไปพร้อมๆ กันด้วย อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงเรื่องราวของโรค และวิธีการป้องกันมิให้เป็นโรคนั้นๆ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่ผู้ป่วยพึงได้รับ และเป็นวิธีที่จะทำให้สุขภาพของผู้ป่วยและชุมชนดีปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและทำให้สามารถประกอบอาชีพได้เต็มที่


  อ้างอิง     http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?select=1&q=%A1%D2%C3%B5%C3%C7%A8%C3%E8%D2%A7%A1%D2%C2


โรคมือเท้าปาก

โรคมือเท้าปากเปื่อย Hand foot mouth syndrome


โรคมือ เท้า ปาก
 เป็นโรคที่มักพบการติดเชื้อในกลุ่มทารกและเด็กเล็ก แต่บางรายจะมีอาการรุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสที่มีการติดเชื้อ
โรค HFMD ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี โดยเฉพาะอายุต่ำกว่า 5 ปี มีอาการไข้ร่วมกับตุ่มเล็กๆ เกิดขึ้นที่ผิวหนังบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง หายได้เอง ส่วนน้อยอาจมีอาการทางสมองร่วมด้วย ซึ่งอาจทำให้รุนแรงถึงเสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุ 1-7 ปี ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ coxsackievirusA16 และ EV71 ผู้ป่วยจะมีไข้ฉับพลันและมีแผลเปื่อยเล็กๆ ในลำคอบริเวณเพดาน ลิ้นไก่ ทอนซิล มีอาการเจ็บคอมากร่วมกับมีน้ำลายมาก ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิต และอาจมีอาการกลืนลำบากปวดท้องและอาเจียน โรคจะเป็นอยู่ 3 - 6 วัน และมักจะหายเอง 
โรคมือเท้าปากจะเกิดเชื้อไวรัสกลุ่ม Enterovirus genusซึ่งเชื้อโรคในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย polioviruses, coxsackieviruses, echoviruses, and enteroviruses.
โรคมือ เท้า ปาก
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enteroviruses ที่พบเฉพาะในมนุษย์ ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ โรคปากเท้าเปื่อยส่วนใหญ่เกิดจาการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า coxsackie A16 มักไม่รุนแรง เด็กจะหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน ส่วนที่เกิดจากEnterovirus 71 อาจเป็นแบบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ Aseptic meningitis ที่ไม่รุนแรง หรือมีอาการคล้ายโปลิโอ ส่วนที่รุนแรงมากจนอาจเสียชีวิตจะเป็นแบบสมองอักเสบ encephalitis ซึ่งมีอาการอักเสบส่วนก้านสมองทำให้หมดสติ หากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจะทำให้เกิดหัวใจวาย ความดันโลหิตจะต่ำ มีอาการหัวใจวาย และ/หรือมีภาวะน้ำท่วมปอด
อาการ
ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการป่วย หรืออาจพบอาการเพียงเล็กน้อย เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดเมื่อย เป็นต้น จะปรากฏอาการดังกล่าว 3-5 วัน แล้วหายได้เอง สำหรับผู้ที่มีอาการมักจะเริ่มด้วยไข้ เบื่ออาหาร ครั่นเนื้อครั่นตัวเจ็บคอ หลังจากไข้ 1-2 วันจะเห็นแผลแดงเล็กๆที่ปากโดยเป็นตุ่มน้ำในระยะแรกและแตกเป็นแผล ตำแหน่งของแผลมักจะอยู่ที่เพดานปาก หลังจากนั้นอีก1-2 วันจะเกิดผื่นที่มือและเท้า แต่ก็อาจจะเกิดที่แขน และก้นได้ เด็กที่เจ็บปากมากอาจจะขาดน้ำ
  • ไข้  มีอาการไข้สูงอาจเกิน 39 องศาเซลเซียส 2 วันแล้วจะมีไข้ต่ำๆ ประมาณ 37.5 - 38.5 องศาเซลเซียส อีก 3-5 วัน
  • เจ็บคอเจ็บในปากกลืนน้ำลายไม่ได้ ไม่กินอาหาร
  • พบตุ่มแผลในปาก ส่วนใหญ่พบที่เพดานอ่อนลิ้น กระพุ้งแก้ม อาจมี 1 แผล หรือ 2-3 แผล ขนาด 4-8 มิลลิลิตร เป็นสาเหตุให้เด็กไม่ดูดนม ไม่กินอาหารเพราะเจ็บ ผื่นหรือแผลในปากจะเกิดหลังจากไข้ 1-2 วัน
  • ปวดศีรษะ
  •  พบตุ่มพอง (vesicles) สีขาวขุ่นบนฐานรอบสีแดง ขนาด 3-7 มิลลิเมตร บริเวณด้านข้างของนิ้วมือ นิ้วเท้า บางครั้งพบที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส้นเท้า ส่วนมากมีจำนวน 5-6 ตุ่ม เวลากดจะเจ็บ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยแตกเป็นแผล จะหายไปได้เองในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ 
  • เบื่ออาหาร
  • เด็กจะหงุดหงิด
  • ในเด็กโตจะบ่นปวดศีรษะ ปวดหลัง อาจมีอาเจียน เจ็บคอ น้ำลายไหล จากนั้นจะพบตุ่มพองใส ขนาด 1-2 มิลลิเมตร 2 ข้างของบริเวณเหนือต่อมทอนซิล (anteriar fauces) ซึ่งอาจแตกเป็นแผล หลังจากระยะ 2-3 วันแรก แผลจะใหญ่ขึ้นเป็น 3-4 มิลลิเมตร จะเห็นเป็นสีขาวเหลืองอยู่บนฐานสีแดงโดยรอบ ทำให้มีอาการเจ็บคอหรือกลืนลำบากเวลาดูดนมหรือกินอาหาร เด็กจะมีอาการน้ำลายไหล ส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 3-6 วัน ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิต 

โรคมือ เท้า ปาก
ระยะฝักตัว
หมายถึงระยะตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการใช้เวลาประมาณ 4-6 วัน
การติดต่อ
โรคนี้มักจะติดต่อในสัปดาห์แรก เชื้อนี้ติดต่อจาก
  • จากมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ (ซึ่งอาจจะยังไม่มีอาการ) หรือน้ำในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วย
  • และโดยการหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายจากละอองฝอยของการไอ จาม ของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ ( droplet spread)
ระยะที่แพร่เชื้อ
ประมาณอาทิตย์แรกของการเจ็บป่วย เชื้อนั้นอาจจะอยู่ในร่างกายได้เป็นสัปดาห์หลังจากอาการดีขึ้้นแล้ว ซึ่งยังสามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้แม้ว่าจะหายแล้ว การแพร่เชื้อมักเกิดได้ง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย ซึ่งมีเชื้อออกมามาก เชื้อจะอยู่ในลำคอ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ไวรัสเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุของคอหอยและลำไส้ เพิ่มจำนวนที่ทอนซิลและเนื้อเยื่อของระบบน้ำเหลืองบริเวณลำไส้ และเชื้อจะออกมากับอุจจาระ ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า การแพร่กระจายของโรคเกิดจากแมลง น้ำ อาหาร หรือขยะ 
http://health.kapook.com/view11558.html


มือเท้าปากเปื่อยในเด็ก.mp4
โดย นพ.ยง ภู่วรวรรณ
http://youtu.be/LCSOEdriq9c

มะเร็งปากมดลูก


                                                             โรคมะเร็งปากมดลูก

 

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่เกิดที่ปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบบ่อย บทความนี้เกี่ยวกับโรค ปัจจัยเสี่ยง การป้องกัน การวินิจฉัยรวมทั้งการรักษา

มะเร็งคืออะไร
ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกาย เช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือด มีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อ เป็นต้น แต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก ซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant
  • Benign tumor คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามารถตัดออกและไม่กลับเป็นใหม่ และที่สำคัญไม่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น เช่น polyps,cyst,wart
  • Malignant tumor เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง ที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือด และน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis
โครงสร้างของปากมดลูก
โครงสร้างระบบอวัยวะสืบพันธ์ของคุณสุภาพสตร ีประกอบไปด้วยรังไข่ [ovary] ซึ่งต่อกับมดลูกโดยท่อรังไข่ [fallopian tube]  มดลูก[uterus]อยู่ระหว่างทวารหนัก [rectum] และกระเพาะปัสสาวะ [bladder] มดลูกติดต่อกับช่องคลอด [vagina] โดยมีปากมดลูก [cervix] เป็นทางติต่อระหว่างมดลูกและช่องคลอด


มะเร็งในระยะเริ่มแรก
เซลล์ที่ประกอบเป็นปากมดลูกจะประกอบไปด้วยเซลล์ squamous cells and glandular มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ทั้งสองชนิด การเปลี่ยนแปลงของเซล์จะค่อยเปลี่ยนจนเกิดเป็นลักษณะที่เรียกว่า Precancerous ซึ่งมีด้วยกัน คือ cervical intraepithelial neoplasia (CIN), squamous intraepithelial lesion (SIL), and dysplasia.
  • Low-grade SIL หมายถึงการเปลี่ยนแปลงเริ่มแรกของ รูปร่าง ขนาด และจำนวน บางครั้งอาจหายไปเองแต่ก็มีจำนวนหนึ่งเปลี่ยนไปเป็น High-grade SIL บางครั้งเรียก mild dysplasia
  • High-grade SILหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุมดลูกที่เปลี่ยนไปจากเดิมชัดเจน ถ้าเซลล์อยู่เฉพาะปาดมดลูกเรียก moderate or severe dysplasia
มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เป็นชนิด Squamous cell ประมาณร้อยละ 80%ถึง 90% ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 20 จะเป็นชนิด Adenocarcinomas
การเปลี่ยนแปลงจาก Precancerous เป็นมะเร็งใช้เวลาเป็นปี การรักษาตั้งแต่ยังไม่เป็นมะเร็งจะป้องกันมิให้เกิดมะเร็ง
ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก

การตรวจมะเร็งแรกเริ่ม
เป้าหมายของการค้นหามะเร็งเริ่มแรกคือการค้นหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ก่อนที่จะเกิดอาการของโรค การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกแรกเริ่มโดยมากมาจากการตรวจปากมดลูกประจำปี ในการตรวจภายในแพทย์ จะตรวจ มดลูก ช่องคลอด ท่อรังไข่ รังไข่ หลังจากนั้นแพทย์จะใช้อุปกรณืถ่างช่องคลอดเพื่อทำ pap smear ช่วงที่เหมาะสมในการตรวจภายในคือ10-20 วันหลังประจำเดือนวันแรก และก่อนการตรวจ 2 วันไม่ควรสวนล้าง ยาฆ่า sperm หรือยาสอด ปัจจุบันการรายผลจะใช้ Low หรื High grade SIL มากกว่า class1-5 แต่อย่างไรก็ตามควรให้แพทย์อธิบายผลให้ฟังอย่างละเอียด ผู้หญิงวัยเจริญพันธ์ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไปควรตรวจภายในประจำปี
อาการของมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการอะไร แต่เมื่อเป็นมะเร็งแล้วจะมีอาการเลือดออกหลังจากการตรวจภายใน หรือหลังร่วมเพศ หรือมีตกขาว
  • มีเลือดออกผิดปกติ เช่นเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธุ์ มีเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือนแล้ว เลือดออกเป็นระยระยะ ประจำเดือนมานานผิดปกติ เลือดออกหลังจากตรวจภายใน
  • มีอาการตกขาวซึ่งอาจจะมีเลือดปน
  • มีอาการเจ็บขณะร่วมเพศ


ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก
ปัจจัยเสี่ยงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงใดใดที่เกิดขึ้นแล้วทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น มะเร็งแต่ละชนิดจะมีปัจจัยเสี่ยงต่างกัน ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลุกได้แก่
  • การติดเชื้อ HPV หรือการเป็นหูดที่อวัยวะเพศ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดมะเร็งปากมดลุก
  • การสูบบุหรี่ ของการเกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึนสองเท่า
  • การรับประทานยาคุมกำเนิด
  • ระบบภูมิคุ้มกันของคุณสุภาพสตรี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันไม่ดีจะทำให้เกิดโอกาสติดเชื้อ HPV ได้ง่ายจึงมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลุกเพิ่มขึ้น
  • การติดเชื้อ Chlamydia พบว่าผู้ที่ติดเชื้อ Chlamydia ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น
  • อาหาร ผู้หญิงที่รับประทานผักและผลไม้น้อยจะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงกว่าคนที่รับประทานผักและผลไม้
  • ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดมาเป็นระยะเวลานานจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูก
  • การมีบุตรหลายคนเชื่อว่าจะทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอรฺโมนทำให้ติดเชื้อ HPV ง่าย และขาดการป้องกันการติดเชื้อ
  • ผู้ที่มีเศรษฐานะต่ำเนื่องจากเข้าถึงบริการไม่ทั่วถึง
  • ผู้ที่ได้ยา Diethylstilbestrol (DES) เพื่อป้องกันแท้ง

การวินิจฉัย
จากการทำ pap test ทำให้ทราบว่ามีเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูกแพทย์จะทำการตรวจ  Colposcopy โดยการส่องกล้องแล้วเอา iodine ป้ายบริเวณปากมดลูก เซลล์ปกติจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนเซลล์ผิดปกติจะเป็นสีขาวหลังจากนั้นแพทย์จะเอาชิ้นเนื้อปากมดลูกไปตรวจซึ่งมีวิธีตรวจต่างๆตามแต่แพทย์จะเห็นสมควร
12
เรื่องที่เกี่ยวข้องและสมควรอ่าน
                           โรคมะเร็งปากมดลูก



                                    โครงการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก 76 จังหวัด และภาพกิจกรรมที่หน่วยบริการปฐมภูมิ PCUพรเจริญโรงพยาบาลพรเจริญ สสจ.หนองคาย ได้ดำเนินการและพัฒนามา Papsmear,VIA
ในประเทศไทยพบผู้เป็นมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 6,000 ราย และเสียชีวิตปีละประมาณ 3,000 ราย หรือประมาณวันละ 7-9 ราย โดยธรรมชาติของโรคจะเริ่มจากการได้รับ เชื้อไวรัส ที่ติดต่อโดยทางเพศสัมพันธ์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์จนกลายเป็นเซลล์มะเร็งปากมดลูก โดยจะใช้เวลาเกือบ 10-20 ปี ซึ่งทำให้การคัดกรองหาความผิดปกติของปากมดลูกมีประโยชน์ สามารถลดอัตราการเป็นมะเร็งปากมดลูกลงได้ และถ้าตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในระยะเริ่มแรกสามารถรักษาให้หายขาดได้
http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/cancer/cervixcancer.htm